มีการบันทึกถึงการใช้กลิ่นในสมัยอียิปต์โดยมีหลักฐานชัดเจนว่าชาวอียิปต์ทำน้ำหอมเพื่อการบูชาและสรรเสริญเทพเจ้าโดยใช้การเผาเปลือกไม้ให้ควันลอยขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ จากหลักฐานนั้นก็มีการพัฒนานำกลิ่นมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นใช้สำหรับอาบหรือใช้สำหรับสูดดมหรือใช้เป็นยารักษาโรคหรือแม้กระทั่งใช้สำหรับการดองศพซึ่งเราจะคุ้นและรู้สึกทึ่งกันมากเมื่อพูดถึงมัมมี่ (คือการดองศพของชาวอียิปต์ในชนชั้นสูง) ซึ่งเมื่อนักโบราณคดีเปิดโลงศพออกมาสิ่งแรกที่รู้สึกได้คือกลิ่นและเป็นกลิ่นที่หอมหวานสันนิษฐานว่าเป็นกลิ่นเดียวกับที่ตั้งใจใส่ไว้ในช่วงแรกซึ่งนั่นแปลว่าแม้เวลาจะผ่านไปนานมากคุณภาพของกลิ่นยังคงไม่เพี้ยนและยังคงส่งกลิ่นได้อย่างฟุ้งกระจาย นั่นอาจจะรวมถึงโลงศพที่บรรจุศพด้วยไม้อย่างดีเพราะไม้ที่ดีจะมีคุณสมบัติเก็บกลิ่นได้ดีมากแต่มันก็น่าทึ่งอยู่ดีที่คุณภาพของกลิ่นไม่ว่าจะผ่านเวลาไปนานมากขนาดไหนกลิ่นก็ยังคงอยู่ตลอดไป
เครื่องหอมกับการทำมัมมี่
มัมมี่นำไปใช้เรียกสำหรับศพที่ผ่านการดองด้วยฝีมือมนุษย์เชื่อว่าเป็นการถนอมให้ศพคงสภาพและเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอียิปต์โดยวิธีการปรุงศพนั้นกระทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญอาชีพปลงศพในสังคมอียิปต์ถือเป็นหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์และมีวิธีการซับซ้อนมาก การกระทำอย่างละเอียดโดยเริ่มจากการทำความสะอาดร่างกายตกแต่งภายในเอาอวัยวะออกเกือบทั้งหมดยกเว้นไปและหัวใจจะไม่ถูกแตะต้องเพราะมีความเชื่อว่าผู้ตายจำเป็นต้องใช้ในการพิพากษาในโลกหลังความตายซึ่งภายในร่างกายจะใส่ด้วยมอดยอบ (myrrh)กับอบเชยและเครื่องหอมอื่น ๆ จากนั้นเย็บปิดช่องท้องแล้วดองด้วยนาตรอนเพื่อให้ศพแห้งเมื่อปล่อยระยะเวลาทิ้งไว้จนจบแห้งนำศพมาชโลมด้วยน้ำมันหอมระเหยเพื่อเป็นการทำความสะอาดอีกครั้งและดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจะทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาสุดท้ายด้วยการพันผ้าดองศพที่ใช้ผ้าลินินอย่างดีทุกอย่างไม้หรือไขมันสัตว์ให้ทั่วร่างกายแล้วนำศพส่งให้ครอบครัวเพื่อไปทำพิธีต่อ
ที่มา
กันต์นที นีระพล (2567). Nose Note บันทึกเรื่องกลิ่นจากปลายจมูก. สำนักพิมพ์อะโวคาโด บุ๊กส์.
–กระบวนการทำมัมมี่ของอียิปต์โบราณ | ArchaeoGO