ความรู้การตลาด

น้ำหอมมุสลิม – ผู้หญิงใส่น้ำหอมละหมาดได้หรือไม่????

น้ำหอมมุสลิม

บทความเรื่องน้ำหอมมุสลิมนี้ มีที่มาจากการที่มีลูกค้าชาวมุสลิมหลายท่าน ต้องการจะผลิตน้ำหอมกับน้ำหอมกัลยา จึงเป็นที่มาของการหาข้อมูล ทั้งการสอบถามเรียนรู้จากลูกค้า และหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ดังนั้น หากมีความผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยอย่างสูงมา ณ ที่นี้ เราไม่ได้มีเจนตนาดูหมิ่นหรือหลบลู่ในศักดิ์ศรีของผู้ใด แต่อยากอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจในกฏและข้อบัญญัติที่แตกต่างกันออกไป

 ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวเอาไว้ว่า ถ้าสตรีคนใดก็ตาม  มีความประสงค์จะไปทำละหมาดที่มัสยิด  นางก็อย่าได้ใส่น้ำหอม

อัล-ซอลาฮฺ 674

ซึ่งเหตุผลที่มีความชัดเจนว่าทำไม  สตรีจึงถูกห้ามไม่ใส่น้ำหอมหรือสวมเครื่องประดับเมื่อนางจะออกไปละหมาดที่มัสยิด  ก็เพราะว่าสิ่งดังกล่าวนั้นจะส่งผลทำให้เกิดความสนใจหรือเป็นที่ดึงดูดจากเพศตรงข้ามและจะนำมาซึ่งสิ่งที่ไม่ดี และเพราะความผิดอันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นตามมานั้น  เป็นผลมาจากการที่สตรีใส่น้ำหอมเมื่อนางจะออกไปละหมาดที่มัสยิด  ดังนั้นนางจึงถูกห้ามไม่ใส่น้ำหอม  เมื่อจะออกไปจากบ้านของนาง

แต่ถ้าหากนางใส่น้ำหอมแล้วอยู่ภายในบ้านของนาง ดังนั้นการใส่น้ำหอมจึงไม่ถูกห้ามเมื่อนางละหมาดภายในบ้านของนาง และเมื่อน้ำหอมนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการละหมาดของนางด้วย

แปลและเรียบเรียงโดย นูรุ้ลนิซาอฺ

Photo by Thirdman: https://www.pexels.com/photo/women-praying-together-8488997/

น้ำหอมมุสลิม ใส่ไปละหมาดได้หรือไม่

ตอบ – ถ้าใส่ละหมาดที่บ้าน น้ำหอมต้องไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะเนื่องจากมีความเชื่อว่า แอลกออล์มีพื้นฐานคือสุรา ซึ่งเป็นสิ่งมอมเมา เป็นสิ่งไม่ดี จึงไม่อนุญาตให้ใช้

แต่ก็มีคนที่ออกมาให้ความเห็นต่าง เพราะเห็นว่าแอลกอฮอล์เป็นสิ่งบริสุทธิ์ จึงอนุโลมให้สามารถนำมาใช้เป็นส่วนเจือปนได้ เช่น น้ำหอม หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์  (ที่มา : https://alisuasaming.org/)

ส่วนละหมาดที่มัสยิดห้ามใส่น้ำหอมเด็ดขาด

น้ำหอมมุสลิม จะผลิตไปขายใคร???  

คำถามนี้ ได้มาจากการถามลูกค้าชาวมุสลิมที่มาผลิตน้ำหอม ซึ่งได้คำตอบว่า จะเน้นขายนักเรียนในสถาบันศาสนา เพราะส่วนใหญ่นักเรียนที่เรียนในสถาบันศาสนาเราจะแยก ชาย หญิง อยุ่แล้วค่ะ

“สตรีที่ใส่เครื่องหอมแล้วออกไปมัสยิด ละหมาดของนางจะไม่ถูกตอบรับ จนกว่านางจะอาบน้ำชำระล้างเครื่องหอมนั้นให้หมดเสียก่อน”   (บันทึกโดย อิบนิ มาญะฮ)

ไม่ถูกตอบรับ หมายถึง การขอพร และบุญที่จะได้รับจากการละหมาด จะไม่ถูกต้องรับจากพระเจ้า

”เมื่อสตรีคนใดใส่น้ำหอมและเดินผ่านกลุ่มคนเพื่อให้ได้กลิ่นหอมจากตัวเธอก็เท่ากับนางเป็นผู้ทำซินา“ (บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ อัลฮากิมและ อิบนิฮิบบาน) 

(ซินา หมายถึง การร่วมประเวณีก่อนแต่ง)

“ซึ่งน้ำหอมถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เพิ่มความมั่นใจ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ใช้และผู้ขายว่าต้องการใช้น้ำหอมเพื่อสิ่งใด ก็ถือว่าใช้น้ำหอมได้ แต่ต้องระวังเรื่องเจตนาของเราค่ะ”


เพิ่มเพื่อนทางไลน์ เพื่อสอบถามเรื่องการผลิตน้ำหอมมุสลิม

@kanlayaperfume
เพิ่มเพื่อนในไลน์น้ำหอมกัลยา