ปัจจุบันรูปแบบของแฟรนไซส์มีมากมายให้เลือกในตลาด ทั้งแฟรนไซส์ลูกขิ้น แฟรนไซส์ชากาแฟ แฟรนไซส์ร้านเครื่องสำอาง แฟรนไซส์การศึกษา แฟรนไซสร้านอาหาร แฟรนไซส์ขนม หรือแม้แต่แฟรนไซส์น้ำหอมเองก็มีให้เลือกหลายแบรนด์ เพราะการขายแฟรนไซส์คือการขยายตลาดได้แบบรวดเร็ว และง่ายมาก กล่าวคือ การขายแฟรนไซส์คือการขายแบรนด์ หรือขายของให้คนอื่นไปช่วยขาย โดยที่เราไม่ต้องขายเอง
แต่ทุกคนรู้ไหม คนที่จะขายแฟรนไซส์ได้ หรือที่เรียกว่าแฟรนไซส์ซอ (Franchisor) หรือเจ้าของแบรนด์นั้นเอง ควรจะต้องได้รับมาตราฐานแฟรนไซส์ก่อน และจะต้องมีร้านแฟรนไซส์ต้นแบบก่อน จึงจะสามารถขายหรือขยายแฟรนไซส์ได้อย่างถูกต้อง เพราะในระบบแฟรนไซส์มีมาตราฐานและกระบวนต่าง ๆ มากมายที่ลงระบุในการซื้อขายแฟรนไซส์ เช่น การให้สิทธิ์ในการขาย คู่มือการขาย ข้อกำหนดของการขายสินค้า การจัดร้าน ระยะเวลาการสั่งซื้อสินค้า เรียกว่า ตั้งแต่หน้าร้านถึงหลังร้าน เปิดร้านถึงปิดร้าน ไม่ใช่แค่มีสินค้า มีแบรนด์ก็จะเรียกตัวเองว่าขายแฟรนไซส์ได้
ประเภทของระบบแฟรนไชส์ในปัจจุบัน (ที่มา)
- Product Distribution Franchise
เป็นการให้สิทธิ์ในตัวผลิตภัณฑ์หรือเครื่องหมายการค้า เพื่อการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าในยี่ห้อสินค้านั้น แฟรนไชส์ประเภทนี้ แฟรนไชส์ซอร์ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มักจะกำหนดมาตรฐานทางคุณภาพด้านต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประเภทนี้ มักจะทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตเสียเอง หรือซื้อวัตถุดิบจากเจ้าของแบรนด์มาผลิตจำหน่าย โดยปกติมักจะเป็นผู้ค้าปลีกเป็นส่วนมาก เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ผลิต หรือแม้แต่ Coca-Cola, บริษัท Ford Motor, Exxon และ Osim
นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่เข้าไปควบคุมการดำเนินธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่เจ้าของแฟรนไชส์จะดูแลควบคุมในด้านมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ข้อกำหนดเท่านั้น อย่างในเมืองไทยแฟรนไชส์ประเภทนี้จะเป็น ชา 25 บาท ลูกชิ้นทอด ฯลฯ
2. Business Format Franchise
เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่าง ๆ รวมทั้งแผนการตลาด
ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้า ที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของเจ้าของแฟรนไชส์
โดยมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของเจ้าของแฟรนไชส์
ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งเจ้าของและผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลด์ ดังกิ้น โดนัท 7-Eleven เป็นต้น
3. Management Franchise
เป็นระบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิม ที่ต้องการให้ธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มีรูปแบบ หรือ ใช้เครื่องหมายทางการค้าที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
โดยรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะให้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการรูปแบบ การวางระบบ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างของแฟรนไชส์การจัดการ คือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม และกลุ่มธุรกิจบริการไปรษณีย์เอกชน ที่กำลังได้รับความนิยมจากอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซบูม เช่น Hilton, American Idol, UPS Store, ควิกเซอร์วิส, Super S
ทั้งหมดเป็นความหมายและประเภทของระบบแฟรนไชส์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยระบบแฟรนไชส์ต้องมีแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของธุรกิจ) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) ตกลงทำสัญญาร่วมกันในการถ่ายทอดระบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้กัน โดยผูซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีค่าตอบแทนให้กับเจ้าของธุรกิจ เช่น ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าการตลาด (marketing fee) ค่าดำเนินงานให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งจะจ่ายเป็นรายเดือนให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ (Royalty fee)
แฟรนไชส์น้ำหอมรายแรกของประเทศ
น้ำหอมกัลยา เราเกิดมาจากรูปแบบการขายปลีก ขายส่ง และขายแฟรนไซส์ เพราะเราก็เชื่อมั่นว่าระบบแฟรนไซส์จะสามารถทำให้แบรนด์น้ำหอมเติบโตขึ้นได้ น้ำหอมกัลยาได้สมัครเข้าร่วมรับการตรวจประเมินแฟรนไซส์ จากกรมพัฒนาธุริจการค้า ในปีพ.ศ.2560 โดยน้ำหอมกัลยาผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตราฐานแฟรนไซส์ และได้รับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตราฐานแฟรนไซส์ในการประกอบธรุกิจแฟรนไซส์
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์น้ำหอม
- ไม่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้า
- มีคนเริ่มทำตลาดให้แล้ว มีแบรนด์ที่ติดตลาด ไม่ต้องลงทุนสร้างแบรนด์เองทั้งหมด
- มีคู่มือในการเปิดร้าน และบทสนทนาในการขาย
- ได้ต้นทุนสินค้าในราคาถูก สำหรับแฟรนไชส์ซี
- มั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า
- มีผู้ให้คำปรึกษาในการทำตลาด
สำหรับนักลงทุนที่อยากจะมีธุรกิจก่อนจะตัดสินใจซื้อแฟรนไซส์ควรศึกษารายละเอียดของแฟรนไซส์ๆนั้นๆก่อน เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดหรือเกิดการฟ้องร้องในภายหลัง
สนใจเปิดร้านน้ำหอมด้วยระบบแฟรนไชส์ ทักมาคุยกันค่ะ